พลังงานหมุนเวียนจากกังหันลมและพลังงานแสงอาทิตย์
แหล่งพลังงานหมุนเวียน จากกังหันลม และพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นจุดเด่นของงานโอลิมปิกในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย Wind Farm จำนวน 6 แห่ง และ Solar Farm อีก 2 แห่ง ซึ่งแหล่งกำเนิดพลังงานดังกล่าวจะอยู่ไกลออกไปจากสถานที่จัดการแข่งขัน โดยที่จะมีการเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า ผ่านระบบโครงข่ายไฟฟ้า ที่จะช่วยลดความจำเป็นในการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยผู้จัดหาไฟฟ้าหลักของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงปารีส ในครั้งนี้ ได้แก่ “EDF” (Electricite de France SA) ซึ่งเป็นบริษัทสาธารณูปโภคไฟฟ้าข้ามชาติของฝรั่งเศสที่รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นเจ้าของ
และถึงแม้ว่าจะฟังดูเหมือนเป็นแหล่งพลังงานสำรองก็ตาม แต่ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเทียบกับการที่ต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเก่าที่ใช้พลังงานฟอสซิล ก็จะทำให้เกิดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาล
จุดที่น่าสนใจของงานนี้ คือ แผงโซลาร์เซลล์ขนาด 720 ตารางเมตร ที่ถูกติดตั้งอยู่บนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ ซึ่งลอยเด่นอยู่ ณ แม่น้ำเซน แสดงถึงนวัตกรรมทางวิศวกรรม ที่ออกแบบมาได้ไม่ขัดตา สามารถเข้ากับรูปแบบวิถีชีวิตและบรรยากาศดั้งเดิมของฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดี
แผงโซลาร์เซลล์ของโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แห่งนี้ เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่จะถูกใช้ใหม่ในโอกาสอื่น ๆ หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้จบลงอีกด้วย จัดเป็นตัวอย่างของ พลังงานสีเขียว (Green energy) ที่น่าจับตามอง
นอกจากแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่แล้ว ยังมีแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ขนาดย่อมลงมา ที่ถูกติิดตั้งไว้บนหลังคาของอาคารในหมู่บ้านโอลิมปิก ซึ่งถูกใช้งานในการผลิตไฟฟ้าและทำความเย็นภายในอาคาร ที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรด้านพลังงานอีกด้วย
ระบบระบายความร้อนด้วยความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Cooling System)
หลักการด้านความยั่งยืน (sustainability) เป็นกระแสที่ได้รับความสนใจไปทัั่วโลก และการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 ณ กรุงปารีสที่เพิ่งจบไปได้ไม่นานนี้ ก็ได้พิสูจน์ให้เราได้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วว่า งานแข่งกีฬาที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก สามารถนำงานออกแบบก่อสร้างและระบบงานด้านวิศวกรรมมาใช้เพื่อเน้นย้ำความยั่งยืนนี้อย่างไรได้บ้าง
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปีนี้ มีการควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นครั้งแรก ถือว่าเป็นการควบคุม Carbon footprint สำหรับการแข่งกีฬาระดับโลก โดยจำกัดคาร์บอนไดออกไซด์ให้ไม่เกิน 1.58 ล้านตัน ตลอดการแข่งขัน ด้วยแนวคิด Circular Economy ที่มุ่งเน้นการหมุนเวียนด้านการใช้วัสดุ พลังงานหมุนเวียน ฯลฯ แนวคิดนี้จึงถูกนำมาใช้ในหลาย ๆ แง่มุม ในทางด้านงานก่อสร้าง รีโนเวท และงานระบบ WCE ก็อยากจะนำจุดเด่นต่าง ๆ มาเล่าสู่กันฟังอยู่ 3 จุดด้วยกันคือ
ด้วยความที่เป็นโอลิมปิกฤดูร้อน นักกีฬาก็ต้องการความเย็นสบาย ซึ่งการทำให้อาคารเย็นด้วยเครื่องปรับอากาศแบบเดิม จะทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกินความจำเป็นมากมาย ดังนั้น เทคโนโลยีทางเลือกที่ทำให้โลกเราปลอดภัยยิ่งขึ้น จึงจำเป็นอย่างมาก โดยครั้งนี้ เทคโนโลยีในเรื่องระบบระบายความร้อนแบบ geothermal cooling system ก็เป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า “ระบบระบายความร้อนด้วยความร้อนใต้พิภพ” ที่จะสูบน้ำเย็นจากพื้นโลกชั้นหินขึ้นมา ซึ่งเป็นความเย็นจากชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifers) ซึ่งสามารถทำให้อุณหภูมิภายในอาคาร เย็นกว่าภายนอกอาคารได้อย่างน้อย 6 องศาเซลเซียส
นอกจากนี้ ก็มีการเลือกใช้วัสดุในการรีโนเวทอาคาร ให้สอดรับกับการระบายอากาศ และช่วยให้พื้นที่ภายในอาคารเย็นขึ้น เช่น การปูพื้นกระเบื้องสีอ่อนเพื่อเพิ่มการสะท้อนแสง และสูบน้ำเย็นเข้าไปในห้องพักโดยใช้ระบบทำความเย็นอุณหภูมิพื้นดิน (Ground Source Cooling)
ศูนย์กีฬาทางน้ำ (Aquatic Center)
จุดเด่นด้านการก่อสร้างที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือ การออกแบบศูนย์กีฬาทางน้ำ ( Aquatic Center) ที่นอกจากจะสวยงามมีสไตล์สมชื่อ ปารีส เมืองแห่งแฟชั่น ทว่าการก่อสร้างครั้งนี้ ยังคำนึงถึงหลักความยั่งยืนและการลดคาร์บอนอย่างเต็มที่ โดยการออกแบบรูปทรงหลังคา ที่เป็นหลังคาเว้า ซึ่งช่วยลดลดปริมาณพื้นที่ที่จะทำความร้อนลง 30 เปอร์เซ็นต์ และยังทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับความชื้นอีกด้วย
วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดของอาคาร จัดเป็นประเภทวัสดุชีวภาพที่ลดการเกิดคาร์บอนที่มาจากการก่อสร้าง จุดที่โดดเด่น คือ โครงสร้างไม้ที่สวยงาม โดยใช้ไม้ที่นำมาจากป่าไม้ที่มีการจัดการเชิงนิเวศน์ โดยมีไม้ที่ผลิตในประเทศ (French wood) 30% ด้วยกัน
ส่วนโครงหลังคาได้รับการออกแบบที่เน้นให้มีความเป็นธรรมชาติ เพื่อให้กลมกลืนไปกับพื้นที่สีเขียว อันเต็มไปด้วยต้นไม้ที่ปลูกไว้รอบ ๆ อาคาร ที่มีต้นไม้ใหญ่ 1,000 ต้น, ต้นไม้ขนาดเล็ก และไม้พุ่มเกือบ 8,000 ต้น
นอกจากนี้ ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ตามตีมหลักของงานเช่นกัน โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าของอาคารนี้ จะครอบคลุมความต้องการในการใช้พลังงานของอาคารถึง 20% ด้วยกัน
เรียกได้ว่างานโอลิมปิกปีนี้ ได้มีหลายกิจกรรมที่สนับสนุนความยั่งยืนตลอดเส้นทาง ที่ออกแบบมาอย่างครอบคลุม ตั้งแต่ก่อนพิธีเปิด ระหว่างการแข่งขัน ตลอดจนเมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นก็มีการจัดการด้านการหมุนเวียนในเชิงการใช้ทรัพยากร
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจในด้านการขนส่ง และการบริหารทรัพยากรด้านอาหารที่จัดให้สอดคล้องกับแนวคิดด้านความยั่งยืนที่เป็นตีมหลักอีกด้วย โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีการขนส่ง ที่อยากกล่าวถึงแบบสั้น ๆ ว่า มีการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า ไฮบริด และพลังงานไฮโดรเจน (EVs, hybrid, and hydrogen-powered vehicles) ที่ถือเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นกัน
Contact Us
West Coast Engineering Company Limited (WCE)
🌐 www.wce.co.th
✉️ international@wce.co.th
📞 +66 (0) 65-9376283
Your Turn Key Engineering Solution
We engineer your sucCEs